ประวัติตำบลบ้านดง เป็นตำบลหนึ่งของอำเภออุบลรัตน์ เดิมพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเขตการปกครองของอำเภอน้ำพอง ต่อมาเมื่อในปี พ.ศ. 2540 ได้มีพ่อค้าและประชาชนโดยทั่วไปที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลบ้านดง ตำบลโคกสูง และตำบลนาคำ ได้ทำเรื่องขอตั้งอำเภอขึ้นบริเวณกึ่งกลางของท้องที่ทั้ง 3 ตำบล คือ ตำบลที่เรียกว่าพองหนีบ ซึ่งเป็นบริเวณที่สร้างเขื่อนอุบลรัตน์ปัจจุบัน เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2517 ทางราชการโดยกระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้น โดยแบ่งเขตการปกครองแยกจากอำเภอน้ำพองบางตำบล คือ ตำบลโคกสูง ตำบลบ้านดงและตำบลนาคำ ตั้งเป็นกิ่งอำเภออุบลรัตน์ เพราะสถานที่ตั้งอยู่ใกล้กับเขื่อนอุบลรัตน์ ต่อมาทางราชการได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2522 ตำบลบ้านดง ได้อยู่ในเขตปกครองของอำเภออุบลรัตน์จนถึงปัจจุบัน
1.1 ที่ตั้งและอาณาเขต ตำบลบ้านดงตั้งอยู่ในเขตอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของจังหวัดขอนแก่น ห่างจากที่ว่าการอำเภออุบลรัตน์ 2 กิโลเมตร จังหวัดขอนแก่น 52 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ 96 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 60,000 ไร่
อาณาเขต มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
§ ทิศเหนือ จรดกับตำบลนาคำ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
§ ทิศใต้ จรดกับตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
§ ทิศตะวันออก จรดกับตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
§ ทิศตะวันตก จรดกับตำบลบ้านค้อ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะพื้นที่ของตำบลบ้านดงอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ระดับ 200-400 เมตร ความสูงจากพื้นที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก โดยทางทิศตะวันตกเป็นภูเขา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นพื้นที่อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ บริเวณต่ำสุดของพื้นที่อยู่ตามแนวขนานกับลำห้วยซึ่งจะไหลลงสู่แม่น้ำพอง ลักษณะเป็นภูมิประเทศแบ่งเป็น 4 บริเวณ คือ ภูเขาลูกคลื่นลอนตื้น ที่ราบและที่ลุ่มลำห้วย ดังนี้
1.2.1 บริเวณภูเขา อยู่ทางด้านตะวันตกของพื้นที่ ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางมากกว่า 250 เมตร ขึ้นไปจนถึง 400 เมตร ภูเขาที่ว่านี้เรียกว่า ภูเขาภูพานคำ ส่วนตอนบนลงสู่ตอนล่างของภูเขามีความลาดชันมาก ทำให้มีการชะล้างหน้าดินและการพันทลายของดินอีกด้วยภูเขาดังกล่าวนี้เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยต่าง ๆ เช่นลำห้วยคุมมุมลำห้วยทราย ลำห้วยคำปลาหลายและลำห้วยหัวคาน
1.2.2 บริเวณลูกคลื่นลอนตื้น จากแผนที่ภูมิประเทศของตำบลบ้านดง จะเห็นได้ว่าเป็นภูมิประเทศของตำบลเป็นที่ราบลุ่มสลับกับลูกคลื่นลอนตื้น ซึ่งลูกคลื่นลอนตื้นนี้พาดผ่านจากทิศตะวันตกเฉียง
เหนือมาทางทิศใต้ของตำบล มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 150-200 เมตร อยู่ถัดจากบริเวณภูเขาเป็นลักษณะลูกคลื่นลอนตื้นสลับกับที่ราบหรือเป็นที่นาสลับไร่ บริเวณลูกคลื่นนี้เกษตรกรนิยมใช้เป็นพื้นที่ป่าไม้ธรรมชาติและมีการปลูกไม้เศรษฐกิจ เช่น ยูคาลิปตัส สักทอง ประดู่ ยางพารา เป็นต้น ส่วนบริเวณตอนล่างส่วนที่เป็นลูกคลื่นเกษตรกรใช้ทำนา
1.2.3 บริเวณพื้นที่ลุ่มริมลำห้วยอยู่บริเวณตามที่ลำห้วยไหลผ่าน มี 2 บริเวณ คือ บริเวณลำห้วยทราย บริเวณนี้อยู่ระหว่างเขตบ้านหนองแต้ต่อกับเขตบ้านห้วยทราย มีพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ มีพื้นที่ลาดต่ำลงไปยังแม่น้ำพองและบริเวณริมห้วยคุมมุมซึ่งมีเขตติดต่อระหว่างบ้านกุดเชียงมีกับบ้านหนองแต้
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูฝน โดยทั่วไปจะมีฝนตกเพียงเล็กน้อย แต่จะตกในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม
ฤดูหนาว อากาศหนาวจัดระหว่างเดือนธันวาคมถึงมีนาคม
ฤดูร้อน อากาศร้อนอบอ้าว และจะแล้งมากช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
1.4 ลักษณะของดิน มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทรายแทบทุกแห่งในพื้นที่ เหมาะสมกับการทำไร่ทำนาและการเพาะปลูก
|